วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ทำไมควรเลือกเรียน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ม.ธรรมศาสตร์

มีน้องๆหลายท่านที่กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่า จะเลือกเรียนคณะสถาปัตย์ฯที่ไหนดี ผมอยากขอร่วมให้ข้อมูล เพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของน้องๆทั้งหลายครับ

เมื่อกล่าวถึงภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ น้องทุกท่านก็ต้องคิดถึง มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ นั่นคือ จุฬาลงกรณ จากนั้นก็ต้องเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนฯที่ลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยศิลปากร ไม่มีคนคิดถึงชื่อของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากคณะนี้เพิ่งเริ่มก่อตั้งมาไม่กี่ปี

ปัจจัยหลักที่น้องหลายๆท่านเลือกจุฬาฯ คือชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ความเก่าแก่ และการที่มีรุ่นพี่ก่อนๆที่สร้างชื่อเสียงมาในอดีต และอีกปัจจัยหนึ่งคือสถานที่ตั้ง ที่อยู่ใจกลางเมือง ในเมื่อหลายๆปัจจัยเป็นต่อหลายสถาบัน การที่คณะฯจะมีการพัฒนาให้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเป็นประโยชน์ ในการย่นย่อเวลาของนิสิตในการทำงาน ก็ไมีมี เรื่องนี้ผมทราบมาจากเพื่อนนิสิตของลูกสาว เพราะว่าเนื่องจากบรรดาอาจารย์ที่สอนที่จุฬาฯ เป็นอาจารย์เก่าแก่ที่ทรงคุณวุฒิ การที่ท่านได้ร่ำเรียนมาอยางไรในอดีต ท่านก็จะปฏิบัติอย่างนั้นในปัจจุบัน ขอยกตัวอย่างเพื่อที่จะได้เห็นอย่างชัดเจน ทีธรรมศาสตร์ อาจารย์จะยอมให้นักศึกษาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียน ภาพเปอร์สเป็คตีพ สามมิติ หากท่านนึกไม่ออกว่าคืออะไร ผมขอแนะนำท่านให้ไปตามโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆ เขาจะให้โบรชัวร์ภาพห้องตัวอย่าง หรือภาพตัวอย่างโครงการที่มีต้นไม่ ทางเดิน หรือภาพผู้คนที่กำลังดำเนินชีวิตอยู่ ที่จุฬาฯจะให้นิสิตใช้มือวาดและใช้สีน้ำลง อาจารย์จะไม่สนับสนุนให้นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ด้วยเหตุผลว่า เมื่อก่อนอาจารย์เรียนมาอย่างไร นิสิตต้องทำตามอย่างนั้น แต่ที่ธรรมศาสตร์ เขาไม่สนใจในวิธีการที่จะได้ภาพมาอย่างไร แต่อาจารย์จะเน้นที่ผลงานของนักศึกษาแทน ซึ่งทำให้น้องๆต้องไปขวนขวายเรียนการใช้โปรแกรมเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้ทำผลงานให้ดีถูกใจอาจารย์ เป็นต้น นี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆที่ลูกสาวได้พบมา เพื่อนร่วมโรงเรียนเก่าสมัยมัธยม ที่เรียนที่จุฬาฯ ได้มาบอกเล่าเรื่องนี้แก่ลูกสาวเอง

ที่จุฬาฯ เวลาว่าง รุ่นพี่จะมีกิจกรรมมาให้รุ่นน้องทำเสมอ ไม่ว่าเป็นการจัดละครเพื่อหาทุนของรุ่น หรือจับน้องวิ่งรอบสนาม หากท่านไปในช่วงเปิดเทอมต้น ท่านจะเห็นทั้งเด็กผู้ชายและหญิงใส่ชุดกีฬาวิ่งเป็นกลุ่มๆ ที่ธรรมศาสตร์ไม่มีเรื่องเช่นนี้ เวลาว่างที่ธรรมศาสตร์ ทุกคนมีอิสระที่จะเลือกทำตามใจตัวเอง ลูกสาวได้ไปร่วมกับวงดนตรีโฟร์คซอง และได้ร่วมซ้อมเมื่อมีเวลาว่าง ไม่มีการบังคับใดๆทั้งสิ้น ซึ่งเรื่องนี้แตกต่างจากจุฬาฯ เอ......ผมควรที่จะพูดถึงสถาบันอื่นด้วย เมื่อผมเอ่ยชื่อลาดกระบัง คณะสถาปัตย์ จะขึ้นชื่อในเรื่องความเก่งทางด้านการทำแบบโมเดล เนี๊ยบและสมจริง แต่ข้อด้อยของสถาบันนี้คือสถานที่ตั้ง แต่ปัจจุบัน หากท่านคิดว่าไกล ขอให้ท่านคิดถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะว่าที่ตั้งอยู่ติดกัน และมีทางด่วนมอเตอร์เวย์ วิ่งถึง พร้อมทั้งในอนาคตอันใกล้นี้ สายรถไฟฟ้า แอร์ปอร์ตลิ๊งค์ก็จะเปิดใช้ ทำให้ท่านสามารถเดินทางจากมักกะสันได้อย่างสะดวกสะบาย

จากลาดกระบัง ก็ต้องกล่าวถึง มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่นี่มีชื่อเสียงมากทางด้านมัณฑนะศิลป์ แต่เนื่องจาก นักศึกษาปี 1 ต้องไปเรียนที่นครปฐม จึงไม่ค่อยมีผู้สนใจมากเท่าจุฬาฯ ผมยังไม่เคยไปแคมปัสที่นครปฐมเลย แต่ลูกสาวมีเพื่อนร่วมชั้นที่สนิทกันมาก ไปเรียน และเขาก็ชอบ แต่เรื่องความเข้มข้นของหลักสูตรก็ยังเป็นรองที่ธรรมศาสตร์ โดยดูจากการที่มีการประกวดทางด้านตกแต่งภายใน ประจำทุกปี ที่ลูกสาวไปร่วมแข่งขันตอนที่เรียนอยู่ในชั้นปีที่ 3 แต่เขาไปร่วมแข่งกับเด็กปี4 ของมหาวิทยาลัยอื่น เพราะว่าที่ธรรมศาสตร์มีหละกสูตร 4 ปีในขณะที่มหาวิทยาลัยอืนต้องเรียน 5 ปี เรื่องของการที่ย่นระยะการเรียนขึ้นมา 1 ปีนี้ ผมก็ค่อนข้างกังวลพอสมควร เพราะคิดว่าทาง ธรรมศาสตร์ จะทำการสอนได้ไม่ทั่วถึงเท่าที่อื่น แต่ลูกก็ได้มาบอกว่าที่อื่นนั่นแหละที่เรียนช้า เพราะมัวแต่ไปเน้นวิชาที่เด็กต้องใช้มือในการทำงาน ซึ่งเมือเรามองดูแล้วก็ใช่เลย เพราะว่าในช่วงปีแรกๆ อาจารย์จะให้เด็กฝึกหัดทำแบบจำลอง เพื่อที่จะได้มีความถนัด แต่ที่ธรรมศาสตร์ ไม่เน้นอย่างนั้น แลัลูกได้ไปทราบความจริงเมื่อเขาได้ไปดูงานในต่างประเทศ เขาได้ไปพบเห็นเครื่องมือทำโมเดล 3 มิติที่อเมริกา โดยเพียงแค่เราป้อนข้อมูลต่างๆเข้าในคอมพิวเตอร์ แล้วให้คอมฯสั่งไปยังเครื่องก็อบปี้ ที่เครื่องนี้มีกรรไกรตัดกระดาษอยู่ และสามารถตัดภาพด้านขวางและประกอบออกมาเป็นโมเดล 3 มิติได้ทันที หากท่านงง ท่านสามารถไปตามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล แล้วไปดูที่แผนกของเล่น ดูที่ภาพจิกซอร์ ท่านจะเห็นจิกซอร์ 3 มิติที่เมื่อเราต่อเสร็จออกมาเป็นรูปร่างของบ้านหรือปราสาท หรือรูปหอไอเฟลได้เลย นั่นคือทำมาจากเครื่องนี้อย่างไรครับ ดังนั้นการที่จุฬาฯให้เด็กมาฝึกหัดทำโมเดลนั้น ล้าสมัยไปเสียแล้ว ลองคิดดูว่า หากท่านเป็นลูกค้าเจ้าของโปรเจ็กอะไรก็ได้ ท่านจะอยากได้อะไร แบบที่ทำด้วยมือหรือ แบบที่ตัดมาจากเครื่องที่ดูเนี๊ยบไปหมด อีกทั้งความเร็วในการทำก็ต่างกัน สามถึงสี่เท่าตัว

3 ความคิดเห็น:

architect กล่าวว่า...

ผมเป็นนศ ใหม่คณะสถาปัตย์ มช ครับ

แต่ก่อนหน้านี้ ผมก็สอบติด มธ ด้วย

แล้วปฏิเสธไป มช

เมื่อได้ไปอยู่จริง พบว่าไม่มีเวลาเป็ฯของตัวเอง

ความไกลบ้าน จิตตก มากๆ

เลยคิดว่าจะสอบใหม่ครับ ให้ได้ มธ อีกรอบ

nath_encore@hotmail.com แนะนำด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้า กำลังกลุ้มใจจริงๆ ว่าจะทิ้งเวลา1ปีไปเลยดีไหม

IA TU กล่าวว่า...

ขอแก้ข่าวให้คณะหน่อยนะคะ จากภาค Interior Design ธรรมศาสตร์ เรื่องที่บอกว่า ชอบให้นักศึกษาใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานส่ง อาจารย์ท่านไม่ได้ชอบนะคะ แค่ให้ได้เรียนรู้ไปตามยุคสมัย เนื่องจากบางครั้งก็มีความจำเป็นในการออกไปประกอบอาชีพ แต่ก่อนที่จะได้ใช้คอม ไม่รู้เหมือนกันว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่เพราะว่าตอนนี้ ปี ก็ยังต้องวาดมือนะคะ ทั้ง Plan Perspective Sketch desigh หรือแม้แต่ Lecture Note ที่ต้องส่ง
ส่วนเรื่องของ Model ตอนนี้ ในระยะเวลา 1 อาทิตย์ ต้องมีโมเดลไปส่งอย่างน้อย 1-2 ชิ้นตลอดที่มีการเปลี่ยนแปลง plan ถ้ามีข้อสงสัยอะไรก็ไปดูการเรียนการสอนที่คณะได้นะคะ ยินดีต้อนรับคะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าคนตั้งใจเรียนจริงๆเรียนที่ไหนก็สามารถสำเร็จการศึกษาออกมาอย่างมีประสิทธิภาพได้หมด แต่ก็ต้องยอมรับว่าคุณภาพและความรู้ของอาจารย์ก็สำคัญเหมือนกันในการสอนลูกศิษย์ แต่เท่าที่ได้อ่านดูตัวผมเองรู้สึกว่าคุณดูเหมือนจะเอาด้านเสียของจุฬามากล่าวจังนะครับ คุณเคยไปสัมผัสมาแล้วหรอ ?