วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรื่องเกี่ยวกับหน่วยลงทุนของกองทุนที่ผูกกับราคาทอง

วันนี้ผมได้ไปพบเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่ง ท่านได้สอบถามผมเกี่ยวกับการลงทุนซื้อทองคำแท่งซึ่งผมก็ได้อธิบายเหมือนกับที่ผมได้พูดไปใน บล็อกนี้ แต่ท่านมีคำถามว่าแล้วที่ท่านไปซื้อหน่วยลงทุนกับธนาคารไทยพาณิชย์ โดยมีระยะสัญญา 1 ปีห้ามไถ่ถอนก่อนครบกำหนด โดยมีผลตอบแทนให้ 9% ต่อปี ผมเลยถามกลับไปว่าแล้วธนาคารมีข้อแม้อะไรบ้าง เนื่องจากว่าไม่มีทางที่ธนาคารชั้นนำจะให้ผลตอบแทนถึง 9% ต่อปีอย่างแน่นอน ท่านผู้นั้นได้อธิบายให้ผมฟังว่า หน่วยลงทุนนี้ ยึดราคาทองคำตอนทำสัญญา โดยราคาทองที่ทำนั้นใช้ราคาทองของตลาดโลก และหน่วยราคาคิดเป็นเงินสกุล ออสเตรเลีย เมื่อครบสัญญาหากราคาทองคำของโลกมากกว่าวันที่ซื้อ ธนาคารถึงจะให้ผลตอบแทน 9% ต่อปีโดยไม่คำนึงว่าทองจะขึ้นไปเท่าไร แต่หากราคาทองไม่ขึ้น ธนาคารจะรับประกันแค่เงินต้นโดยไม่มีผลตอบแทน พอผมฟังได้เท่านี้ ผมก็หัวเราะออกมาดังๆเลยครับว่า พี่คนนี้โดนแล้วครับ เพราะว่าเท่าที่เราทราบและสังเกตดูตลาด พี่ท่านนี้ไปซื้อตอนราคาทองอยู่ที่ $970/oz ราคาทองขนาดนี้โอกาศที่จะขึ้นมากกว่านี้มีแต่น้อยมาก และเวลาทองขึ้นจะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น เนื่องจากมีธนาคารกลางของหลายประเทศที่รอจะขายอยู่ที่ราคา $1000/oz ผมว่าธนาคารนั้นได้ทำการบ้านมาอย่างดีแล้วครับเพราะว่าธนาคารมีนักเศรษฐศาสตร์อยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นไปได้ที่เขาคิดมาแล้วว่าธนาคารมีโอกาศสูงที่จะจ่ายแค่เงินต้น
ผมได้ตั้งคำถามอีกว่า หากราคาทองขึ้นก่อนที่จะครบ 1 ปี และเราอยากที่จะขายหน่วยลงทุนละ ธนาคารจะยอมให้เราแปรสภาพหน่วยลงทุนไหม ผลคือ ไม่ได้ครับ ต้องรอให้ครบ 1 ปีเต็มถึงจะคืนหน่วยลงทุนได้ ท่านผู้ใดอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ลองไปติดต่อธนาคารไทยพาณิชย์ดูนะครับ เผื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: